ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 รวมทั้งข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 ประเทศไทยได้กำหนดให้ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์โดยแพทย์อย่างถูกต้องตาม กฎหมายได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
1) การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง 2) การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง 3) ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง 4) การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา 5) การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี (แม้ว่าเด็กหญิงจะไม่ได้ถูกล่อลวงหรือข่มขืนก็ตาม) 6) การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่ |
การยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ หากตีความตามเกณฑ์ข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นการยุติการตั้งครรภ์ที่เข้าข่ายตามข้อกฎหมายทั้งสิ้น เพราะผู้หญิงมักประสบปัญหาที่สอดคล้องกับข้อกฎหมายข้อใดข้อหนึ่งอยู่แล้ว โดยเฉพาะความทุกข์ทางใจจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมด้วยเหตุและปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องประสบ
สำหรับนานาประเทศ การตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านกฎหมายของประเทศนั้นๆ โดยทั่วไป เกณฑ์ในการยุติการตั้งครรภ์มีตั้งแต่เพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้หญิง เพื่อเหตุผลทางสุขภาพอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพทางกาย และใจของผู้หญิง การตั้งครรภ์อันเนื่องมาจากกรณีข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศ เพศสัมพันธ์ร่วมสายเลือดเดียวกัน ปัญหาสุขภาพของตัวอ่อนในครรภ์ รวมทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม และเกณฑ์ที่เปิดกว้างมากที่สุดคือ เมื่อผู้หญิงต้องการ เกณฑ์ของประเทศต่างๆ ในโลก แสดงดังตารางต่อไปนี้
(จาก The world abortion laws, Center for Reproductive Rights, July 2007) |
|||||||
ปัญหา | (1)ช่วยเหลือชีวิตผู้หญิง | (2)สุขภาพทางกายผู้หญิง | (3)สุขภาพทางใจผู้หญิง | (4)การข่มขืน (ท้องร่วมสายเลือด) | (5)ตัวอ่อนในครรภ์ | (6)เศรษฐกิจและสังคม | (7)เมื่อผู้หญิงต้องการ |
จำนวนประเทศ ที่ใช้เกณฑ์นี้ | 190 | 131 | 125 | 94 | 88 | 66 | 55 |
ควบคุมประชากรโลก | 99% | 78% | 75% | 72% | 64% | 61% | 40% |