Loading ...

ถาม
            จากการเขียนหนังสือของเด็กวัยรุ่นในยุคนี้ ตามที่คัดมาให้ดู บอกตามตรงว่าเป็นห่วง กลัวภาษาไทยวิบัติ จึงอยากเข้าใจความคิดของวัยรุ่นที่ดัดแปลงการเขียนได้ซะขนาดนี้ มีความหมายซ่อนว่าอะไรบ้างไหม แล้วครูควรทำอย่างไรกับเรื่องนี้

             คือว่านู๋ช่วยหั้ยแฟนแล้ว มานมีน้ามปนออกมาด้วย เสดแล้วนู๋เผลอเอามือไปจับอวัยวะเพศของตัวเอง มานจะมีโอกาสท้องมั้ยคะ แล้วเมนส์คราวนี้ก้อมาน้อยผิดปกติแบบน้อยมากอ่าคะ นู๋ควรจะทัมยางงายดี รบกวนช่วยตอบหั้ยด้วยนะคะ

ครูสอนภาษไทย
 
ตอบ

          อืม... มันก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณครูห่วงเรื่องอะไรนะครับ ระหว่างการสะกดภาษาไทยของวัยรุ่น / พฤติกรรมของวัยรุ่น / ความรู้เรื่องเพศศึกษาของวัยรุ่น

          เอาหละ แต่ถ้าคุณครูถามเรื่องการสะกดคำอย่างเดียว ผมขอใช้ภาษาแบบวัยรุ่นๆ ว่า “ปล่อย” ครับ

          ปล่อยในที่นี้คือ ปล่อยไปเถอะครับ ถ้าเขาไม่ได้เอามาใช้กับคุณครู ผมรู้สึกว่าการใช้ภาษาที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องกับใครมันเป็นเรื่องของมาตรฐาน...

          โอเค ถ้าเขาเอามาใช้กับคุณครูแล้วคุณครูไม่ชอบ ก็ทำในสิ่งที่คุณครูพอทำได้ เช่น เขียนงานมาส่งใช้ภาษาแบบนี้ ก็ตัดคะแนน เขียนใบลามาด้วยภาษาแบบนี้ (ทุเรศสุดๆ ผมรับไม่ได้) ก็ไม่นับว่าเป็นลา สร้างมาตรฐานขึ้นมาเองเลยครับ ถ้าบังคับเขาให้เขาใช้ทุกที่ไม่ได้ ก็ให้เขาใช้กับเราก็พอ เพราะตราบใดที่เพื่อนๆ ของเขายังยอมรับการใช้ภาษาแบบนี้ได้อยู่ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะบังคับให้เปลี่ยน ในเมื่อภาษาเป็นเรื่องของการสื่อสาร ถ้าสื่อสารกันรู้เรื่อง ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรนะครับ ^^ ผมก็รับด๊ายย ถ้ามีคนมาคุยกับผมแบบนี้ตอนผมอารมณ์ดี

          แต่ถ้ากำลังหงุดหงิดอยู่ ทัก MSN มาแบบนี้ ให้ตายก็ไม่ตอบ !!

          ขอให้คุณครูโชคดีนะครับ

          (อื้มม ผมได้ยินมาว่าจากปัญหาที่ถาม นู๋คนนั้นมีโอกาสท้อง ๒% แหนะ ไม่รู้ว่าจริงไหม­­)


(ชายพเนจรเป็นนามปากกาของเด็กหนุ่มย่าง ๑๙ ปี ซึ่งอาสามาทำหน้าที่ตอบปัญหาที่คาใจผู้ใหญ่ ใครอยากได้คำตอบแบบ “แนวแนว” เชิญส่งคำถามมา mase@live.com)


 

3
(ขนาดไฟล์: 46.9 KB / โหลด: 1,407)


ความคิดเห็นที่  3

 ก็เจ๋ง

mailto:sukey_funny@hotmail.com   (8 ธันวาคม 2554  เวลา 17:24:22)

ความคิดเห็นที่  1

อยู่ที่สามัญสำนึกของผู้ใช้ภาษาของแต่ละคน    เราคงไม่สามารถไปบังคับใครให้เป็นอย่างที่เราหวังได้   ต้องปล่อยให้เวลาและความรักภาษาเกิดขึ้นเมื่อมีคนเห็นความสำคัญและคุณค่าของภาษา  

สุกี้  ประจำมนุษยศาสตร์  มอนอ   (29 กรกฎาคม 2552  เวลา 29 17:40)