Toggle navigation
หน้าแรก
ดาวน์โหลด
ฟรีดาวน์โหลดหนังสือและหลักสูตร
หนังสือสุขศึกษาประถมศึกษา
หนังสือสุขศึกษามัธยมศึกษา
หลักสูตรเพศวิถีศึกษา
หนังสือของโครงการ
โปสเตอร์และ Infographic
คลิปวิดีโอการสอน
หนังสั้น เพศศึกษา
เกมเพศศึกษา
Sex change
สื่อสังวาส
ข่าว/บทความ
สาระชวนรู้ เพศศึกษารอบด้าน
ข่าวเรื่องเพศศึกษา
ข่าวประชาสัมพันธ์
คุยเรื่องเพศกับพระชาย
ข้ามเส้น คิดนอกกรอบ
บทความเยาวชน
บทกวีเขาเราเอามาเขียน
ธรรมใจไดอารี่
เกมเพศศึกษา
วาไรตี้
ทีนแพธวาไรตี้
หนังน่าดู เพลงความหมายดี
แนะนำหนังสือ
เกมทายใจ
เคล็ดลับเพื่อสุขภาพ
ดูดวงฟรี
คู่มือวัยรุ่น
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
เพศวิถีศึกษา เพศศึกษารอบด้าน
ข่าวโครงการ
ฅ.ฅนก้าวย่าง
รู้จักสถานศึกษา
คลังข้อมูลวิชาการ
ครูเพศศึกษาหัวใจไอที
ฐานข้อมูลเพศศึกษา
เว็บบอร์ด
ถามตอบสุขภาพ วัยรุ่น
ฝากคำถามใหม่
ปรึกษาวัยรุ่น ลูกที่ปรึกษา
สอนรักสลักใจ
คลังคำถามเรื่องเพศ
สาระจากงานประชุม-กิจกรรม
:
กิจกรรมเยาวชน
Share
กองกิจการนักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ผนึกกำลังทีมก้าวย่างอย่างเข้าใจ สร้างเครือข่ายแกนนำเยาวชนภาคใต้ต้านภัยเอดส์
กองกิจการนักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ผนึกกำลังทีมก้าวย่างอย่างเข้าใจ สร้างเครือข่ายแกนนำเยาวชนภาคใต้ต้านภัยเอดส์
อริสา สุมามาลย์ เจ้าหน้าที่องค์การแพธ โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ
“การมุ่งไปสู่จุดหมายเป็นสิ่งสำคัญ แต่การมีเพื่อนร่วมทางที่ดีสำคัญยิ่งกว่า”
คำพูดนี้อาจจะใช้กล่าวถึงการสร้างเครือข่ายทำงานด้านเพศและเอดส์ที่ภาคใต้ได้ เมื่อกองกิจการนักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ จัดการอบรม “เพาะบ่มคนดี ก้าวย่างอย่างเข้าใจ ห่างไกลเอดส์” โดยงบสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และได้เชิญทีมวิทยากรหลัก โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ มาร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมที่โรงแรมบีพี หาดใหญ่ วันที่ ๙ – ๑๐ กันยายน ๒๕๔๙
อาจารย์อมรา ศรีสัจจัง กองกิจการนักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ เล่าว่า เดิมทุกปี สกอ.ให้งบสนับสนุนกิจกรรมของนักศึกษาโดยตรงกับแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ปีนี้สกอ. มอบหมายให้กองกิจฯ เป็นผู้รับผิดชอบจัดอบรมแกนนำเยาวชนจากสถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานเยาวชนเรื่องเพศและเอดส์ ตนเองในฐานะที่เป็นหนึ่งในวิทยากรหลัก โครงการก้าวย่างฯ จึงเชิญทีมวิทยากรหลักภาคใต้และทีมงานแพธมาจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เยาวชนด้วยกัน โดยเชื่อว่ากิจกรรมในหลักสูตรของแพธสามารถกระตุ้นเยาวชนให้คิดวิเคราะห์และเข้าใจสถานการณ์เรื่องเพศและเอดส์ด้วยตนเองได้มากกว่าการจัดบรรยายแบบเดิมๆ
อาจารย์เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ผู้จัดการหน่วยประสานงานโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจภาคใต้ เล่าว่า แม้ที่จริง หน้าที่ของทีมวิทยากรหลักคือจัดอบรมให้ครูสามารถใช้หลักสูตรเพศศึกษาสอนเยาวชนในโรงเรียน แต่การเป็นวิทยากรครั้งนี้เป็นการขยายการทำงานของทีมวิทยากรหลักมาที่เยาวชนโดยตรงด้วย เพราะสุดท้ายแล้ว เป้าหมายหลักของการทำงานคือเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญที่ถ่ายทอดทักษะชีวิตเรื่องเพศกับเยาวชนด้วยกันได้ดีที่สุด
ในการอบรมนี้ แกนนำเยาวชน ๗๐ คนจาก ๒๑ สถาบัน ทั้งมหาวิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน และสถาบันราชภัฏในจังหวัดต่างๆ สะท้อนว่าหลายกิจกรรมทำให้ทัศนคติเรื่องเพศเปลี่ยนไป เช่น กิจกรรมแลกน้ำ ซึ่งจำลองสถานการณ์แพร่เชื้อเอชไอวีด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เข้าใจว่าทุกคนมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ไม่ใช่เฉพาะคนที่มีเพศสัมพันธ์แบบส่ำส่อน แต่รวมถึงแม่บ้านที่รักเดียวใจเดียว หรือกิจกรรมวิเคราะห์ QQR (Quality, Quantity, Route of transmission) ทำให้เลิกกลัวว่าการติดเชื้อเอชไอวีจากผู้ป่วยทางน้ำลาย มีดโกน การสัมผัสใกล้ชิดฯลฯ แต่เห็นความสำคัญของการป้องกันเอดส์ด้วยถุงยางอนามัยมากขึ้น
ทวนเพชร เส็งเจริญสุข นักศึกษาวิทยาลัยชุมชนระนอง กล่าวว่าเข้ารับการอบรมนี้แล้ว อยากกลับไปสื่อสารกับวัยรุ่นเรื่องกิจกรรม QQR เพราะทำให้รู้ว่าเอดส์ไม่น่ากลัว และกิจกรรมแลกน้ำทำให้รู้ว่าอย่าเชื่อใจคู่นอนและไม่ใช้ถุงยางอนามัย เพราะเราไม่อาจมองหน้าใครแล้วบอกได้ว่ามีเชื้อเอชไอวีหรือไม่
ก่อนจบค่าย เยาวชนได้จัดกลุ่มวางแผนจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องเพศและเอดส์ในสถาบันของตน ซึ่งมีทั้งรูปแบบการจัดอบรม ค่าย นิทรรศการ ละครฯลฯ อาจารย์อมรา กล่าวว่าแผนต่อไปของกองกิจฯ คือของบสนับสนุนจากสกอ.ให้เยาวชนแต่ละสถาบันจัดกิจกรรมต่อไป โดยจัดกิจกรรมเยาวชนต่างสถาบันในจังหวัดใกล้เคียงกันเป็นเครือข่าย อาจารย์เพชรน้อย กล่าวว่าขณะนี้ทีมวิทยากรหลักภาคใต้มีโครงการสร้างโรงเรียนแกนนำ ๕๐ แห่งใน๑๐ จังหวัด เพื่อให้มีกลุ่มนักเรียนจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องเพศและเอดส์ โดยงบสนับสนุนขององค์กรแพธและ Unicef ทั้งอาจารย์อมราและอาจารย์เพชรน้อยเห็นตรงกันว่าเยาวชนระดับอุดมศึกษาที่ผ่านการอบรมครั้งนี้น่าจะทำงานเป็นพี่เลี้ยงนักเรียนในโรงเรียนแกนนำดังกล่าวได้ ซึ่งจะเป็นการขยายเครือข่ายเยาวชนที่เข้มแข็งในภาคใต้ยิ่งขึ้น
“เพราะลักษณะการทำงานของเราไม่ได้มองว่าหน่วยงานไหนเป็นหน่วยงานไหน แต่เรามองที่ประโยชน์ของเยาวชนร่วมกัน” อาจารย์เพชรน้อยกล่าว
ภาพบรรยากาศในค่าย
ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
จากที่ได้เข้าร่วมโครงการก็รู้สึกว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีสามารถทำให้เรากลับมาสานต่อโครงการให้รุ่นน้องได้รับทราบ
เดือน
(22 พฤศจิกายน 2550 เวลา 19:20:56)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
จาก*
อีเมล
ความคิดเห็น*