
กำหนดการประชุมวิชาการเพื่อคนทำงานกับพ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก / วัยรุ่น
วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มีนาคม-ศุกร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙
ชั้น ๑๑ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีท แอนด์ คอนเวนชั่น สุขุมวิท ๒๐ กรุงเทพฯ
จัดโดย มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (p2h) และภาคี
วันพฤหัสที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
|
๐๘.๓๐-๐๙.๐๐ |
ลงทะเบียน / ชมนิทรรศการ |
|
๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ |
พิธีเปิดโดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรมสุขภาพจิต |
|
๐๙.๓๐-๑๐.๓๐ |
"อยากได้เด็กไทยในฝัน" ผู้ใหญ่ในบ้านต้องทำอะไร
โดย คุณทิชา ณ นคร (ป้ามล) ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก
|
|
๑๐.๓๐-๑๐.๔๕ |
พัก-อาหารว่าง |
|
๑๐.๔๕-๑๒.๑๕ |
การสื่อสารเชิงบวกในครอบครัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตเด็ก
โดย พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร คลินิกวัยรุ่น รพ.รามาธิบดี (เพจ : เลี้ยงลูกนอกบ้าน) |
|
๑๒.๑๕-๑๓.๑๕ |
พัก-อาหารกลางวัน |
|
๑๓.๑๕-๑๔.๔๕ |
ห้องย่อยที่ ๑-๓
๑. ห้องไพลิน : "เด็กรุ่นใหม่ อะไรของมัน..."
โดย คุณเปรมประพัทธ ผลิตผลการพิมพ์และคณะ - Young Filmmakers of Thailand
ผู้ดำเนินรายการ รังสิมา จันทรจำนง path2health
๒. ห้องทับทิม : ภาวะอันตรายของเด็กในสังคมไทย
โดย คุณประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี
ผู้ดำเนินรายการ อ.สุจิตรา โปร่งแสง นักวิชาการอิสระ
๓. ห้องพลอย : Parenting Education : บทเรียนจากนานาชาติ
โดย คุณกษมา สัตยาหุรักษ์ UNFPA
ผู้ดำเนินรายการ ดิเรก ตาเตียว path2health
|
|
๑๔.๔๕-๑๕.๐๐ |
พัก-อาหารว่าง |
|
๑๕.๐๐-๑๖.๓๐ |
ห้องย่อยที่ ๔-๖
๔. ห้องไพลิน: เทคนิคการให้คำปรึกษาพ่อแม่
โดย คุณวินัย นารีผล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
ผู้ดำเนินรายการ อนุสรณ์ สุขกันตะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๕. ห้องทับทิม : ข้อเสนอผลการประเมินห้องเรียนคุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย กับมุมมองของผู้ขับเคลื่อน
โดย รศ.ดร.วงเดือน ปั้นดี มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
คุณผ่องศรี แซ่จึง ประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสตรีจังหวัดศรีสะเกษ
คุณสุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี
ผู้ดำเนินรายการ พิศิษฎ์ คุณวโรตม์ path2health
๖. ห้องพลอย : แบ่งปันเครื่องมือทำงานกับพ่อแม่
โดย คุณอรอุมา ทางดี สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์-กรมอนามัย,
คุณจันทร์ชนก โยธินชัชวาล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
คุณจิตติมา ภาณุเตชะ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)
คุณสุทิศา ศรีบุตรวงษ์ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (p2h)
ผู้ดำเนินรายการ พันธ์ศักดิ์ โรจน์วาธรรม เครือข่ายผู้ปกครอง
|
วันศุกร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙
|
๐๘.๓๐-๐๙.๐๐ |
เก็บตกมาเล่า-เช้าวันที่สอง
ผู้ดำเนินรายการ ทีมงานประจวบคีรีขันธ์
|
|
๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ |
เสียงวัยรุ่น ถึงผู้ใหญ่ในชีวิตเขา
โดย เยาวชนที่เผชิญปัญหา
ผู้ดำเนินรายการ ณัฐพล แพเจริญ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองเพชรบุรี
|
|
๐๙.๓๐-๑๐.๔๕ |
สปอร : 4 เสาหลักเพื่อชีวิตเด็ก โดย
ส. - คุณธัญญาภรณ์ คุณสมบัติ ดูบูโลซ์ สสจ.ลพบุรี (ภาคสาธารณสุข)
ป. - คุณวีระพล ทองเต็ม (ภาคประชาชน-ศรีสะเกษ)
อ. - คุณพินิจ ศรีจันทร์ อบต.พงศ์ประศาสน์ ประจวบคีรีขันธ์ (องค์กรท้องถิ่น)
ร. - ผอ.อิทธิพัทธ์ ธีระวรรณสาร ร.ร.มหภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ (สถานศึกษา)
ผู้ดำเนินรายการ พรนุช สถาผลสวัสดิ์ path2health
|
|
๑๐.๔๕-๑๑.๐๐ |
พัก-อาหารว่าง |
|
๑๑.๐๐-๑๒.๓๐ |
ห้องย่อยที่ ๗-๙
๗. ห้องไพลิน : เสียงเงียบๆ จากวัยรุ่นที่เป็นพ่อแม่
โดย ดร.อุมา ลางคุลเสน วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คุณชุติมา จงรุจินนท์
คุณณัฐวัฒน์ ขำเผือก
คุณศศิธร สายสุวรรณ
ผู้ดำเนินรายการ ผกามาศ อาจพูล path2health
๘. ห้องทับทิม : พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก เรื่องที่ทุกคนต้องเกี่ยว
โดย คุณศิรทิพย์ ภาษีสมบัติ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว-อุทัยธานี
ผู้ดำเนินรายการ วาสนา พรมเสนา path2health
๙. ห้องพลอย : โรงเรียนกับพ่อแม่ จะช่วยกันดูแลชีวิตเด็กอย่างไร?...
โดย ผอ.สมศักดิ์ แสวงการ โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์
อ.วิภา เกตุเทพา โรงเรียนสตรีวิทยา ๒
ผู้ดำเนินรายการ เอกกมล สำลีรัตน์ โรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ฯ สมุทรปราการ
|
|
๑๒.๓๐-๑๓.๓๐ |
พัก-อาหารกลางวัน |
|
๑๓.๓๐-๑๔.๓๐ |
คนดูแลแบบไหน จะเข้าใจเด็กยุค Gen Alpha
โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
|
|
๑๔.๓๐-๑๕.๑๕ |
พิธีปิดงานประชุมวิชาการ
เจตนารมณ์การสนับสนุนงานด้านคุณภาพชีวิตของเชฟรอน
คุณนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวปิดการประชุม
อาหารว่าง และเดินทางกลับ
|
ลานเรียนรู้ – ห้องเพชร ชั้น ๑๑
ก. เวทีย่อยในลานเรียนรู้: จัดกิจกรรมในลาน / พูดคุยเป็นช่วงเวลา ในงานทั้ง ๒ วัน
ข. นิทรรศการ ๑๑ โครงการ / หน่วยงาน ภายใต้แนวคิดการนำเสนอ ดังนี้
๑. Thaiteenpreg
ปลายทางคือดูแลวิถีชีวิตทางเพศของเด็กและวัยรุ่น ที่นี่เลย...“ชุมชนคนทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาท้องในวัยรุ่น-ออนไลน์”
๒. สายด่วน ๑๖๖๓ + Lovecarestation
รับรู้และแลกเปลี่ยนมุมมอง จากการให้บริการปรึกษาออนไลน์และเรื่องราวเบื้องหลังสายด่วน จากผู้เผชิญสถานการณ์ท้องไม่พร้อม และเอชไอวี/เอดส์
๓. โครงการไม่รังแกกัน+ มูลนิธิแพธทูเฮลท์
เราเคยทำความรุนแรงและรังแกเด็ก/วัยรุ่นหรือไม่แบบไหนบ้าง?“มาร่วมคิด สร้าง เรียนรู้” เพื่อลดการใช้ความรุนแรงและการรังแกกันในครอบครัวและโรงเรียน
๔. บ้านกาญจนาภิเษก
บ้านกาญจนาภิเษก ....เพื่อเข้าใจ เข้าถึง ผู้เสียหายหรือเหยื่อ ...เพื่อเยียวยา...วัยรุ่นที่ก้าวพลาด
เพื่อการกลับ...สู่...ครอบครัว สู่...สังคม .....อย่างผู้มีพลัง ไม่ใช่ภาระ...
๕. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)
พลิกมุมมองเรื่องเพศ คุยกับลูกเชิงบวก ที่เน้นการนำเสนอสื่อความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการปรับมุมมองและเสริมสร้างทักษะการสื่อสารที่เหมาะสมในเรื่องเพศ สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กทุกช่วงวัย
๖. แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต
ข้อมูลและกิจกรรมที่เสริมสร้าง เพิ่มพูนทักษะในการดำเนินชีวิต เติมความคิดและความสุข รวมทั้งขอรับเครื่องมือทำงานกับพ่อแม่
๗. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
นิทรรศการสร้างการเรียนรู้เรื่องเพศ แลกเปลี่ยน พูดคุย รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญเพราะ “เรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว”
๘. มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว “มันใกล้มาก”
“การพนัน” อยู่ใกล้มากรอบตัวเรา อย่างคาดไม่ถึงหรือไม่เป็นปัญหา ทั้งยังผ่านเทคโนโลยีทันสมัย เกิดรูปแบบการพนันใหม่ๆ มากมาย เข้าถึงง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสถึงเวลาแล้วที่ครอบครัวต้องรู้และเท่าทัน
๙. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต (เฉพาะวันที่ ๓๑ มีนา)
แลกเปลี่ยน พูดคุยกับทีมนักจิตวิทยา ที่ชำนาญการในการให้คำปรึกษา ตามแนวทาง “มาค้นพบความสุขกับลูกวัยรุ่น”
๑๐. MSD : รู้จักทางเลือกใหม่
"ยาฝังคุมกำเนิด” ทางเลือกใหม่ของการคุมกำเนิดกึ่งถาวร สำหรับผู้หญิงที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว
๑๑. Bangkok for Teen
social media กับการสร้างการเรียนรู้ เพื่อคนทำงานกับพ่อแม่และผู้ดูแลเด็ก/วัยรุ่นในการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ค. บรรยากาศ: มุม “แชะ&แชร์”, ๑๐ เรื่องตั้งใจของผู้ใหญ่ในชีวิตเด็กและวัยรุ่น
|