วันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๕๑
การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน *
วิทยากร นพ.
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ผู้ดำเนินรายการ ผศ. สุรชัย โค้วตระกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ให้พ่อแม่ย้อนเวลากลับไปเลี้ยงลูกใหม่
นักเรียนมีปัญหา
ก็หาครูดีๆ ไปสอน
ฟังดูแล้ว คล้ายเป็น กำปั้นทุบดิน
แต่นายแพทย์
จิตแพทย์โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ให้เหตุผลถึงการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเยาวชนในปัจจุบันว่า
ปัญหาอยู่ตรงไหน
ก็ต้องกลับไปแก้ตรงนั้น
ในเมื่อการสร้าง มนุษย์
คนหนึ่งต้องทำให้เสร็จภายใน ๕ ปีแรกนับแต่ผู้นั้นเริ่มเกิดมาการเลี้ยงดูให้สอดคล้องกับวัยจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ
เพราะหลังจากนั้นแล้ว หากคิดจะ ปั้น คนๆ หนึ่งให้เป็น คนดี อย่างที่ใจหวัง จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนผู้นั้นเสียก่อนว่าเขาหรือเธอจะยอมให้ปั้นตามที่เราหวังหรือไม่
เกม
เซ็กส์ ยา ความรุนแรง
เด็กชอบทำสิ่งเหล่านั้นเพราะ...ความเร็ว
เป็นเรื่องยากที่จะให้เด็กและวัยรุ่นหาความสุขจากการอ่านหนังสือ
ออกกำลังกาย เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาในการสั่งสมความสุข ต่างจากการเล่นเกม
เสพยา มีเซ็กส์ และการใช้ความรุนแรงที่เห็นผลทันตา
และต้องเพิ่มปริมาณในการกระทำสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้ได้รับความสุขในปริมาณเท่ากับครั้งแรกที่ได้ลิ้มรส
ขณะเดียวกัน
การฆ่าตัวตายก็เกี่ยวพันกับความช้า ทว่า คำอธิบายที่เราได้ยินกันบ่อยจนคุ้นหูว่า
เด็กที่ฆ่าตัวตายเพราะเป็นโรคจิตซึมเศร้า
นายแพทย์ประเสริฐเห็นว่าควรถูกตั้งคำถามและตรวจสอบว่าจริงหรือ เพราะกว่าคนๆ
หนึ่งจะฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น ต้องใช้เวลา
แล้วใครเล่าจะช่วยหาคำตอบที่สอดคล้องกับความจริง
บทบาทหญิงชาย...สิ่งที่ถ่ายทอดในสังคม
เมื่อสังคมอนุญาตให้เพศชายเอารัดเอาเปรียบ
หรือแสดงความไม่เคารพต่อเพศหญิงได้ โดยมองว่าเป็นเรื่องปกติ
เพราะเป็นสิ่งที่ทำกันมาเนิ่นนาน เราเลี้ยงลูกชายให้ ฟัน ได้เรื่อยๆ แต่พร่ำสอนลูกสาวว่าต้อง รักนวล
แล้วจะไม่ให้เด็กสับสนกับพฤติกรรมในการแสดงออกได้อย่างไร
นายแพทย์ประเสริฐทิ้งเป็นคำถามให้คิด
ทั้งหมดนี้ต้องเริ่มที่การเลี้ยงดู
การเลี้ยงเด็กไม่ต่างอะไรจากการสร้างปิรามิด
ฐานรากที่แข็งแรงย่อมทำให้ปิรามิดนั้นสมบูรณ์
เช่นเดียวกับการดูแลเด็กที่ต้องเลี้ยงให้ถูกต้อง
สอดคล้องกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย เพื่อจะไม่ต้องมาตามแก้ปัญหาที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
เราจำเป็นต้องย้อนกลับไปทบทวนว่าการเลี้ยงดูเด็กของเราเป็นอย่างไร
นายแพทย์ประเสริฐย้ำก่อนจะอธิบายถึงช่วงวัยและการเรียนรู้ของเด็กว่า
ช่วงแรกเกิดถึง
๑ ขวบ
เด็กในวัยนี้มีหน้าที่เพียงประการเดียวที่ต้องทำให้ลุล่วง
คือ เรียนรู้ที่จะไว้ใจสิ่งแวดล้อม ถ้าเด็กไม่ไว้ใจผืนดิน ในช่วงวัยนี้
เด็กจะไม่คลาน ไม่ยืน ไม่เดิน และไม่นั่ง นายแพทย์ประเสริฐกล่าว ดังนั้น
การจะทำให้เด็กไว้ใจสิ่งแวดล้อม ก็ต้องเกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ใหญ่ คือ
เมื่อเด็กหิว ก็ให้กินนม เห็นมดจะกัดก็ปัดออก อุ้มเมื่อเด็กร้อง ง่วงก็ให้นอน
ช่วง
๒ ๓ ขวบ
หน้าที่ในช่วงวัยนี้สำหรับเด็ก
คือการเรียนรู้ว่าตัวเองนั้นมีตัวตนจริงๆ
ซึ่งการที่เด็กจะรู้ได้ก็ต้องเกิดจากองค์ประกอบ ๓ อย่าง คือ รู้ว่าแม่มีจริง
สร้างสายสัมพันธ์กับแม่ เมื่อเกิดสองอย่างนี้ได้แล้ว
เด็กก็จะเรียนรู้ว่าตนเองมีจริง นายแพทย์ประเสริฐยกตัวอย่างที่แสดงถึงควาไม่สมบูรณืในช่วงวัยนี้จะส่งผลในตอนโตว่า
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดของเด็กที่ขาดการเรียนรู้ว่าตนเองมีจริง
คือเด็กที่กรีดข้อมือเมื่อถูกขัดใจ หรือเศร้า เพราะการกรีดข้อมือทำให้ตัวเองเจ็บ
เด็กที่ไม่ยอมไปโรงเรียน หรือร้องไห้จ้าเวลาแม่เข้าห้องน้ำก็เป็นเพราะเด็กไม่เชื่อมั่นว่าแม่มีอยู่จริงแม้จะหายไปจากสายตาเขาชั่วขณะ
เด็กที่ไม่เชื่อว่าแม่มีอยู่จริงก็จะไม่สามารถสร้างสายใยเชื่อมระหว่างตัวเองกับแม่ไว้ได้
เพราะสายใยเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ดังนั้น เด็กจึงติดเพื่อนมากกว่า
นายแพทย์ประเสริฐอธิบายถึงความสำคัญของสายใย
ช่วง
๓ ๕ ขวบ
นี่คือช่วงเวลาที่เด็กจะเรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเพศ
ในช่วงวัยนี้ เด็กผู้ชายจะรักแม่มากและต้องการเอาชนะพ่อ
ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะศัตรูก็คือการเลียนแบบนั่นเอง เด็กผู้ชายจึงชอบเลียนแบพ่อในวัยนี้
นายแพทย์ประเสริฐกล่าว และอธิบายถึงการเป็นเกย์ว่า ในทางการแพทย์
มีการค้นพบว่าเกย์นั้นเกิดจากยีนบางตัวในโครโมโซม x ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางแม่
ดังนั้น หากไปปรากฏในเพศชายก็จะมีแนวโน้มเป็นชายรักชายสูง
แต่หากปรากฏในเพศหญิงก็จะส่งผลให้ผู้หญิงคนนั้นมีลูกดก
คนเป็นเกย์จึงไม่ใช่คนเป็นโรค ไม่จำเป็นต้องรักษา
จะเห็นได้ว่า ช่วงแรกเกิดถึง ๕ ขวบเป็นช่วงที่เด็กอยู่ในครอบครัว
แต่พอพ้นจากช่วงนี้ไป การสร้างมนุษย์จะทำได้ยากขึ้น
เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะจากตัวเด็กเอง
นายแพทย์ประเสริฐกล่าว และขยายความถึงช่วงวัยของเด็กที่จะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมว่า
ช่วง ๕ ๑๐ ขวบ
เด็กในวัยนี้กำลังเรียนรู้เรื่องการเข้าสังคม
ดังนั้น เด็กจะรู้จักการทะเลาะ แล้วคืนดีกัน ร่วมมือกันทำงาน
อยากให้ครูช่วยกันทบทวนสักนิดว่าบรรยากาศในโรงเรียนเอื้อให้เกิดทักษะเหล่านี้ในวัยที่เด็กต้องเรียนรู้เรื่องการเข้าสังคมากน้อยเพียงไร
นายแพทย์ประเสริฐกล่าว
ช่วงวัยรุ่น
เป็นช่วงของการค้นหาว่าตัวเองเป็นใคร
ซึ่งเมื่อเด็กเติบโตมาถึงวัยนี้ ก็มักจะสวนทางกับพ่อแม่ใน ๒ เรื่อง คือ
เรื่องของเวลา และจริยธรรม นายแพทย์ประเสริฐยกตัวอย่างว่า ตอนลูกยังเล็ก
พ่อแม่ก็มุ่งทำงานหาเงินจนไม่มีเวลาให้ลูก ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่เด็กต้องการ
แต่เมื่อลูกเริ่มโตเป็นวัยรุ่น ฐานะครอบครัวส่วนใหญ่ก็เริ่มเข้าที่เข้าทาง
เพราะมีรถ มีบ้านแล้ว จึงมีเวลาและอยากอยู่กับลูก
แต่วัยรุ่นไม่ต้องการใช้เวลาอยู่กับผู้ใหญ่แล้ว เพราะเพื่อนคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในวัย
ขณะเดียวกัน คำสั่งสอนที่เรามีให้แก่ลูกในวัยเด็ก มาถึงวัยนี้
เด็กก็เรียนรู้ว่าพ่อแม่เองก็ทำอย่างที่สอนไม่ได้เช่นกันในหลายเรื่อง
จริยธรรมของเด็กกับครอบครัวจึงสวนทางกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่การแสดงตัวตนผ่านทางบล็อกในอินเตอร์เน็ต
กลายเป็นช่องทางที่ถูกใจวัยรุ่นมากที่สุด
นายแพทย์ประเสริฐฝากเป็นคำถามถึงผู้ใหญ่ในช่วงท้ายของการบรรยายว่า
หากต้องการให้ลูกวัยรุ่นมีเพื่อนเป็นหนังสือ ก็ต้องหาหนังสือที่วัยรุ่นอยากอ่าน
ซึ่งจะหาจากที่ไหน และการสั่งสอน อบรม ห้ามปรามโดยผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้วัยรุ่นหันมาฟังได้อย่างไรในเมื่อไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของวัยนี้ที่ชอบความเร็ว
ตื่นเต้น สนุกสนาน
ข้อเสนอของนายแพทย์ประเสริฐในฐานะจิตแพทย์
คือ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องเพศแก่วัยรุ่นด้วยการใช้
การสนทนา น่าจะเป็นการกระทำที่สอดคล้องกว่า การสั่งสอน
และฝากไว้ให้ผู้ใหฐ่ช่วยกันคิดว่า
การที่ผมใช้คำว่า แม่
ซึ่งเป็นผู้สร้างสายใยเชื่อมต่อกับเด็กนั้น
ผมหมายถึงผู้ใหญ่คนไหนก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่เลี้ยงดูเด็กให้กลายเป็นมนุษย์ได้ในช่วง
๕ ปีแรกของชีวิต ผมไม่ได้หมายถึงมีเพียงพ่อ แม่ที่ให้กำเนิดชีวิตเขามาเท่านั้น
* เรียบเรียงจากการบรรยายในหัวข้อ
การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน โดยนายแพทย์ประเสริฐ
ผลิตผลการพิมพ์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ การบรรยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการและตลาดนัดประสบการณ์
เพศศึกษาเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๑ : ฮอมแฮง แป๋งตาง สร้างคน เพื่อละอ่อนเหนือ เมื่อวันที่
๒๔-๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ ณ
โรงแรมลำปางเวียงทอง จังหวัดลำปาง โดย เครือข่ายเพศศึกษาและการพัฒนาเยาวชนภาคเหนือ