องค์ประกอบของเพศวิถีแบบชนชั้นกลาง
· Heterosexual
· Sex ในสถาบันการแต่งงาน
· Pairing/ Couple
· Monogamy ซึ่งเป็นระบบ
ผัวเดียว อย่างเคร่งครัด -- สถาปนาผัวเดียวเมียเดียว
· Sex เพื่อการเจริญพันธุ์
· ไม่เกี่ยวกับการค้า,
การแลกเปลี่ยน หรือผลประโยชน์อื่น
· Relational / Social
Bonding / Romantic Love
· ปัจจัยเรื่องอายุ
คู่ต้องอยู่ใน generation เดียวกันและผู้ชายต้องอายุมากกว่า-เพื่อให้ผู้ชายได้แสดงบทบาทของผู้นำครอบครัว
ฐานคติเรื่องเพศวิถี
สังคมไทย (สยาม) รับฐานคติของเพศวิถีกระแสหลักจากตะวันตกเข้ามาในช่วงรัชกาลที่
๔ ซึ่งฐานคิดตะวันตกนี้เราอาจกล่าวได้ว่ามี ๒ ฐานสำคัญ คือ ทางศาสนาทั้งศาสนายิว, คริสต์ และอิสลาม ซึ่งมีรากฐานเดียวกัน
กับอีกฐานหนึ่งคือปรัชญากรีก ซึ่งทั้งสองฐานนั้นล้วนมอง
Sex ในทางลบ มองว่า Sex เป็นบาป เป็นอันตราย
คริสต์ศาสนา (Christianity)
มองว่าความต้องการทางเพศเป็นส่วนหนึ่งของการลงโทษของพระเจ้าเมื่อพระเจ้าขับไล่มนุษย์คู่แรกจากสวรรค์
(the Fall) Sex
จึงเป็นเรื่องของความผิดบาป ขณะที่ทางด้านปรัชญากรีกนั้นให้ความสำคัญเรื่องจิต
(mind) สูงส่งกว่ากาย (body) เหตุผล (reason)
สูงส่งกว่าอารมณ์ (emotion) ชีวิตที่ดีจึงต้องเป็นชีวิตที่เหตุผลเป็นตัวกำกับ
ไม่ใช่ร่างกายมิฉะนั้นชีวิตจะยุ่งวุ่นวาย ในแง่นี้แล้ว Sex
ที่เป็นเรื่องทางกายจึงถือเป็นเรื่องทางลบและจะทำให้เกิดความวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม
ในการที่มนุษย์ยังคงต้องสืบเผ่าพันธุ์ ฐานคิดตะวันตกจึงยินยอมให้มนุษย์มี Sex ได้ เพียงเพื่อการเจริญพันธุ์และไม่ได้เปิดพื้นที่ให้กับความพึงพอใจในทางกาย
เพศวิถีแบบชนชั้นกลาง
เพศวิถีแบบชนชั้นกลางมีลักษณะที่อิงแอบกับความคิดที่ไม่เท่าเทียมทั้งในทางชนชั้น
ชาติพันธุ์ และเพศสภาพ ความคิดแบบนี้ก่อตัวในบริบทที่เฉพาะมากในยุโรปช่วงศตวรรษที่
๑๙ ภายใต้อุดมการณ์เสรีนิยม(liberalism)
ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ หลายประการตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ โดยเฉพาะการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและโครงสร้างทางการเมืองอย่างใหญ่หลวง
ผลที่ตามมาคือการขยายตัวของชนชั้นใหม่ที่เรียกว่า ชนชั้นกลาง(bourgeoisie) และดังนั้นชนชั้นกลางก็สถาปนาเพศวิถีในแบบของตัวเองขึ้นพร้อมๆ
กัน
เพศวิถีของชนชั้นกลางเกิดขึ้นจากจินตนาการเกี่ยวกับเพศวิถีของชนชั้นอื่น
ชนชั้นกลางเชื่อว่าชนชั้นสูงนั้นบริโภคมาก มี Sex มากเกินไป ขณะที่ชนชั้นล่างก็มี Sex มากเกินไปอีกทั้งยังโหดร้ายเหมือนสัตว์ ส่วนชนชั้นกลางนั้นมีเพศวิถีที่ดีกว่า
มีศีลธรรมกว่า เพราะสามารถควบคุมร่างกายในเรื่อง Sex ได้
การแพร่ขยายของความคิดความเชื่อแบบชนชั้นกลางไปสู่ดินแดนต่างๆทั่วโลกนั้นเกิดขึ้นเพราะลัทธิล่าอาณานิคมที่มาพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่า
ความทันสมัย การเปลี่ยนแปลงเพศวิถีในสังคมไทยก็เป็นผลมาจากลัทธิล่าอาณานิคมนี้ด้วยเช่นกัน
ทั้งเรื่องการแต่งกาย, ระบบผัวเดียวเมียเดียว ฯลฯ
ลักษณะสำคัญของเพศวิถีแบบชนชั้นกลาง คือ
เรื่อง Sex เป็นสิ่งที่ไม่ดีควรหลีกเลี่ยง การมี Sex
เป็นไปเพื่อการเจริญพันธุ์เท่านั้น แต่ Sex ที่เป็นไปเพื่อการเจริญพันธุ์นี้ก็ต้องเกิดขึ้นในสถาบันการแต่งงานเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น ต้องเป็นการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamous
marriage for procreation) เท่านั้นด้วย
ภายใต้อุดมการณ์เสรีนิยมที่ก่อตัวและเติบโตอย่างเข้มแข็งนั้นทำให้ความคิดเกี่ยวกับผู้ชายเริ่มถูกท้าทาย
ผู้หญิงเริ่มมีโอกาสเรียนหนังสือ ผู้หญิงสามารถถือครองทรัพย์สินเองได้
และเริ่มมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานทางเรื่องเพศที่ไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงชาย
ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงในเรื่อง ผู้หญิง
เหล่านี้ผู้ชายชนชั้นกลางจึงสร้างจินตภาพผู้หญิงที่ดูนิ่งๆ
เรียบร้อย สะอาด บริสุทธิ์ ไม่มีความรู้สึก/ความต้องการทางเพศ
ขึ้นมาเป็น ผู้หญิงที่ดีงาม
นอกจากนี้แล้ว เพศวิถีแบบชนชั้นกลางที่ก่อตัวขึ้นในศตวรรษที่ ๑๙ ได้สร้างจินตภาพอีกอันหนึ่งขึ้นมาคือเรื่องความเป็น เด็ก
ที่บริสุทธิ์ไม่มีความต้องการทางเพศที่แยกออกขาดจากความเป็น ผู้ใหญ่
การเปลี่ยนแปลงสำคัญภายใต้อุดมการณ์เสรีนิยมอีกประการที่ส่งผลต่อชีวิตทางสังคมของมนุษย์คือเรื่อง
ครัวเรือน/ครอบครัว ที่แตกต่างไปจากช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม กล่าวคือ
จากเดิมที่เป็นครอบครัวใหญ่ที่ครัวเรือนเป็นหน่วยทางการเมือง มีการผลิตในตัวเอง
สร้างความสัมพันธ์กับครัวเรือนอื่น กลายไปเป็นครอบครัวเดี่ยว (nuclear
family) เมื่อประกอบกับสิ่งสร้างที่เรียกว่า เด็ก
ระบบความคิดเกี่ยวกับครอบครัวแบบนี้จึงทำให้ผู้หญิงมาติดกับอยู่ที่ระบบครอบครัวและต้องมีหน้าที่เลี้ยงเด็กที่เป็นดังผ้าขาวไม่ให้แปดเปื้อน
ในแง่ที่เพศวิถีแบบชนชั้นกลางมีฐานคิดหลักมาจากคริสต์ศาสนาที่เชื่อว่า
Sex เป็นไปเพื่อการเจริญพันธุ์เท่านั้นแล้ว
เพศวิถีแบบชนชั้นกลางจึงสอดรับกับการร่วมเพศ/ความสัมพันธ์ระหว่างชาย-หญิง (heterosexuality) พร้อมไปกับการกดทับหรือทำลาย
Sex ที่ไม่ก่อให้เกิดการเจริญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น Sex
ในเพศเดียวกัน (homosexuality) และ
คนที่ขายบริการทางเพศ
เพศวิถีแบบชนชั้นกลางได้สร้างพันธนาการระหว่างหญิง-ชายให้เข้ามาอยู่ในสถาบันครอบครัวเพื่อสอดรับกับความคิดหลายๆ
ประการข้างต้นที่สำคัญคือการยกย่อง เชิดชู ให้คุณค่ากับ Culture of
Romance หรือ Romantic Love แต่ในขณะเดียวกัน
Romantic Love ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานอยู่ที่ ความใหม่
เพศวิถีแบบชนชั้นกลางจึงสร้างข้อขัดแย้งในตัวเอง (contradiction) อย่างสำคัญ เพราะ
พยายามสร้างความเป็นครอบครัวที่มีหน้าที่จำกัดอยู่ที่การเจริญพันธุ์และเลี้ยงดูเด็ก
แต่กลับสร้างพันธนาการร้อยรัดความสัมพันธ์ไว้ด้วยความรักแบบโรแมนติคที่จะเกิดขึ้นเพียงในเวลาสั้นๆ
การเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของเพศวิถีกระแสหลักในศตวรรษที่
๒๐
การพัฒนาของเทคนิควิธีการหรือเทคโนโลยีในการคุมกำเนิดทำให้ผู้หญิงมีทางเลือกมากขึ้น
ความคิดเรื่อง Sex ในการแต่งงานจึงเริ่มถูกท้าทาย
เพศวิถีแบบชนชั้นกลางจึงสร้างความคิดใหม่เพื่อพันธนาการการแต่งงานคือการสร้างความคิดเรื่องความรื่นรมย์ทางเพศในการแต่งงาน
กล่าวคือ ยินยอมให้ Sex ในการแต่งงานมีเรื่องอารมณ์
ความรู้สึกทางเพศระหว่างทั้งคู่เข้ามา จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดเกี่ยวกับความสามารถทางเพศของผู้ชายด้วย
กล่าวคือ แต่เดิมความสามารถทางเพศของผู้ชายอยู่ที่ความสามารถที่จะร่วมเพศ (erection)
แต่ได้เพิ่มปัจจัยอีกประการคือความสามารถทางเพศของผู้ชายอยู่ที่การทำให้ผู้หญิงมีความพึงพอใจทางเพศด้วย
ช่วงทศวรรษ
๑๙๖๐-๑๙๗๐ เรียกได้ว่าเกิดการปลดปล่อยความสัมพันธ์ทางเพศขึ้น (sexual
revolution) ปลดปล่อยให้ Sex
ออกมาจากการแต่งงาน มนุษย์มีเสรีภาพทางเพศมากขึ้น
ผลที่เกิดตามมาอีกในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ ก็คือการที่ความคิดแบบ heterosexuality
ถูกสั่นคลอน/บ่อนทำลายมาก โดยเฉพาะจาก feminism บางตระกูล และ ขบวนการ LGBT (lesbian, gay, bisexual,
transgender) ที่ตั้งคำถามว่า heterosexuality เป็นเรื่องธรรมชาติจริงหรือไม่ หรือแท้ที่จริงแล้ว Sex เป็นเรื่องที่หลากหลายกว่านั้น เพราะในที่สุดแล้วไม่มีใครรู้ว่าคนอื่นคิดและปฏิบัติอย่างไรในเรื่องเพศเนื่องจากเป็นเรื่องส่วนตัว
และในแง่นี้จึงไม่อาจบอกได้ว่ามี Sexual Majority อยู่จริงหรือไม่
และนี่ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นพลังอย่างหนึ่งของความเป็นส่วนตัวทางเพศหรือความเป็นขบถทางเพศ