กรณีศึกษาสิทธิในการมีส่วนร่วม กรณีที่ ๑ ในงานนิทรรศการทางวิชาการของ ร.ร. เก่งศึกษา เด็กหญิงบัวแก้วฯซึ่งเป็นเด็กเรียนมากคนหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กล่าวรายงานในพิธีการเปิดงาน ส่วนประธานในการเปิดงานก็คือผู้เปิดงานก็คือผู้ว่าราชการฯ สำหรับคนกล่าวรายงานนั้นอาจารย์คนึงนิจ ซึ่งเป็นอาจารย์หัวหน้าสายวิชาภาษาไทยเป็นผู้เขียนให้เด็กหญิงบัวแก้วฯมีหน้าที่อ่านรายงานเท่านั้น แนวคำถาม
กรณีศึกษาสิทธิในการมีส่วนร่วม กรณีที่ ๒ แนวคำถาม กรณีศึกษาในการมีส่วนร่วม กรณีที่ ๓ แนวคำถาม
แนวคำถาม
กรณีศึกษาสิทธิในการมีส่วนร่วม กรณีที่ ๖ กรณีศึกษาสิทธิในการมีส่วนร่วม กรณีที่ ๗ กรณีศึกษาสิทธิในการมีส่วนร่วม กรณี ๘ แนวคำถาม |
กรณีศึกษาสิทธิในการมีส่วนร่วม กรณีที่ ๒ |
โรงเรียนทุ่งรวงทองได้ส่งตัวแทนนักเรียน ม. ปลาย ๕ คน เข้าร่วมประชุมโครงการโรงเรียน สีขาว ซึ่งจัดโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติและจังหวัดฯ โดยมีเด็กๆจากโรงเรียนในจังหวัดเดียวกันเข้าร่วมประชุมอีก ๓๐ คน เป้าหมายคือ สร้างความร่วมมือในกลุ่มเด็ก ครุและตำรวจ เพื่อให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยเสพติดให้ได้ ในระหว่างประชุม ดำเนินรายการได้ถามความคิดเห็นเด็กๆ แต่เด็กๆ ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เนื่องจากบรรยากาศการประชุมเต็มไปด้ายความเข็มงวดและเป็นงานเป็นการมากเกินไป ที่สำคัญ คือ ผู้ใหญ่มีคำตอบที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าอยากให้เด็กๆ ทำอะไรบ้าง |
แนวคำถาม |
๑. กรณีข้างต้นนี้ท่านคิดว่าเป็นส่วนร่วมในรูปแบบใดเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ๒. สามารถปรับสู่การมีส่วนร่วมที่มากกว่านี้ได้หรือไม่ อย่างไร |
บันไดการมีส่วนร่วม ๘ ขั้น |
ขั้นที่ ๑ ถูกบงการ เด็กถูกบอกให้ทำตามที่ผู้ใหญ่คิด ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองกำลังทำและปฏิเสธไม่ได้
ขั้นที่ ๒ ไม้ประดับ เด็กมีส่วนร่วมในเหตุการณ์เชิงรูป เช่น แต่งกาย การใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย การอ่านคำเปิดงาน อ่านบทกวี แต่การกระทำดังกล่าวเด็กไม่รู้เหตุผล ไม่รู้ความหมาย ขั้นที่๓ ทำพอเป็นพิธี เด็กอาจถูกถามว่าคิดอย่างไรกับเรื่องนั้นแต่มีขอบเขตหรือข้อจำกัดในการแสดงออก เป็นการให้โอกาสที่ขาดความอิสระ หรือทำพอเป็นพิธีนั้นเอง ขั้นที่ ๔ ถูกมอบหมายให้ทำแต่รับทราบก่อน เด็กมีโอกาสรับรู้ เข้าใจในเรื่องราวต่างๆ และสมัครใจทำ แต่การตัดสินใจ การวางแผนเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ขั้นที่ ๕ ได้รับการปรึกษาและรับทราบ ผู้ใหญ่เป็นผู้วางแผนและดำเนินการทุกอย่าง แต่มีการปรึกษารับฟังและพิจารณาความคิดเห็นของเด็กๆอย่างจริงจัง ขั้นที่ ๖ ผู้ใหญ่ริเริ่ม เด็กร่วมตัดสินใจ ในขั้นนี้เด็กไม่ได้เป็นเพียงผู้ให้ความคิดเห็นเท่านั้น แต่ยังได้ร่วมตัดสินใจในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย ขั้นที่ ๗ เด็กริเริ่มและกำหนด เด็กเป็นเจ้าของความคิดและกำหนดสิ่งที่จะทำด้วยตนเองอาจปรึกษาหรือไม่ปรึกษาผู้ใหญ่ก็ได้ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเด็กเองว่าต้องการอะไร ขั้นที่ ๘ เด็กริเริ่ม ผู้ใหญ่ร่วมตัดสินใจ เด็กเป็นเจ้าของความคิดและกำหนดสิ่งที่จะทำด้วยตนเอง (ริเริ่ม) โดยคำปรึกษาจากผู้ใหญ่ บทบาทของผู้ใหญ่คือให้ประสบการณ์ความชำนาญ และร่วมตัดสินใจกับเด็ก |
(หนังสือการมีส่วนร่วมของเด็ก การทำพอเป็นพิธีสู่การเป็นประชาชน โรเจอร์ เจ ฮาร์ท เขียน จงเจริญ ศรแก้ว แปล ทิชา ณ นคร ขออนุญาตปรับปรุง) |